logo
ร้านปันปัน ยางกันลื่น ยางกันลื่นห้องน้ำ 085-1385363

บทความ

ทำอย่างไร เมื่อจอมซนห่วงเล่นมากกว่ากิน

17-07-2552 17:30:32น.
เป็นธรรมดาของเด็กวัย 4-5 ขวบ ที่ห่วงเล่นมากกว่ากิน พอถึงเวลากินข้าวก็จะรีบๆ กิน หรือไม่ก็รีบๆ อิ่ม ทั้งที่ยังเหลือข้าวอยู่ค่อนครึ่งจาน เพราะจะรีบไปเล่นกับเพื่อน จึงต้อง(บอกว่า)อิ่มให้เร็วที่สุด เรามีเคล็ดลับดีๆ สำหรับเรื่องนี้มาฝากค่ะ

อาหารมื้อต่างๆ ควรเป็นอย่างไร

ในแต่ละวันเด็กควรจะได้รับพลังงานจากอาหารประมาณ 1200 เพราะฉะนั้นแต่ละมื้อก็ควรจะได้รับพลังงานประมาณ 400-500 แคลอรี และควรจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น 
  • ก๋วยเตี๋ยว 2 ทัพพี
  • น่องไก่ตุ๋น 1 น่อง
  • ถั่วงอก 1 ทัพพี
  • น้ำมัน 1 ช้อนชา
  • กล้วย 1 ผล

นอกจากนี้ในช่วงเช้าประมาณ 10 โมง หรือตอนบ่ายสอง ควรจะให้เด็กกินนมด้วย เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ

สาเหตุของที่เด็กไม่ค่อยกินอาหาร
  • เด็กห่วงเล่น เพราะเป็นช่วงวัยที่สนใจสิ่งแวดล้อมมากเป็นพิเศษ

  • ถูกบังคับให้อยู่ในระเบียบวินัย

  • ปัญหาสุขภาพจิต เด็กไม่มีความสุข

  • ตามใจเด็กในเรื่องขนมขบเคี้ยวมากเกินไป โดยเฉพาะการให้กินขนมก่อนมื้ออาหารหลัก

ทำอย่างไรเมื่อลูกห่วงเล่นมากกว่ากิน
  • จัดบรรยากาศให้เหมาะสมสำหรับเด็ก สำหรับวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งคุณแม่มีเวลาว่างและไม่เหนื่อยจากการทำงานมากนัก การหากิจกรรมในระหว่างมื้ออาหารเป็นวิธีการที่แก้ไขโดยพบกันครึ่งทางค่ะ เช่น เล่นเกมทายปัญหาเกี่ยวกับอาหารที่กิน เล่นเกมเก้าอี้ดนตรีก่อนกิน พยายามทำให้การกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นเรื่องสนุกสนาน(จะทำเหมือนจัดปาร์ตี้สัปดาห์ละครั้งก็ได้)

  • จัดอาหารให้น่ากิน และตั้งชื่อให้น่าสนใจ

  • ใช้ตัวละครจากนิทานเรื่องโปรดของเด็กมาตั้งเป็นชื่ออาหาร เพื่อให้เด็กจินตนาการว่าได้กินอาหารที่เป็นส่วนหนึ่งของนิทาน หรือใช้ชื่ออาหารแต่งเรื่องเป็นนิทานประจำครอบครัวก็ได้ ซึ่งทำสักสัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้ดูเป็นโอกาสพิเศษ

  • ทำให้เด็กรู้สึกว่าการกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นกิจกรรมพิเศษของครอบครัว

เคล็ดลับต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการกิน
  • ไม่ควรขู่หรือบังคับให้เด็กกินในสิ่งที่เด็กไม่ชอบ รวมทั้งการบังคับให้กินให้หมดจานทั้งๆ ที่เด็กอิ่มแล้ว เพราะจะทำให้เด็กมีความรู้สึกไม่ดีต่อการกิน

  • สำหรับเด็กที่กินน้อย ควรให้กินอาหารว่างในแต่ละวันด้วย

  • อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญมาก หากเด็กไม่ได้กินอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้เด็กไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดความฉับไวในการคิดคำนวณหรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และอาหารเช้าควรจะประกอบด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้และการออกกำลังกายดีขึ้น

  • อาหารที่บำรุงสมองซึ่งควรจะให้กินตั้งแต่เล็กๆ คือ อาหารที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งพบมากใน ตับ ไข่แดง เนื้อสัตว์ อาหารที่มีไอโอดีน พบมากในปลาทะเล อาหารทะเลต่างๆ อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวพบใน น้ำมันถั่วเหลือง เนื้อปลา ซึ่งอาหารเหล่านี้มีผลต่อการบำรุงสมอง

  • ควรให้เด็กกินอาหารครบทุกหมู่ในหนึ่งวัน

  • ไม่ควรให้เด็กกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจำเจ เพราะถึงแม้ว่าในอาหารแต่ละชนิดจะมีสารอาหารอยู่ในหมู่เดียวกัน แต่สารอาหารแต่ละอย่างก็จะมากน้อยแตกต่างกันไป

  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทฟาสฟู้สต์ เพราะจะทำให้เด็กอ้วน

 

(นำมาจากนิตยสารบันทึกคุณแม่)