|
|
1.เปรียบเทียบกับเกณฑ์การออกเสียงสระและพยัญชนะของเด็กตามช่วงอายุต่างๆ ถ้าผิดจากเกณฑ์ปกตินั้นถือว่าพูดไม่ชัด เกณฑ์การออกเสียงพยัญชนะของเด็กปกติ อายุ เสียงที่พูดไม่ชัด 2 ขวบ 1 เดือน - 2 ขวบ 6 เดือน ม น ท บ ค อ 2 ขวบ 7 เดือน - 3 ขวบ เพิ่มเสียง ว บ ก ป 3 ขวบ 1 เดือน - 3 ขวบ 6 เดือน เพิ่มเสียง ท ต ล จ ท 3 ขวบ 7 เดือน - 4 ขวบ เพิ่มเสียง ง ด 4 ขวบ 1 เดือน - 4 ขวบ 6 เดือน เพิ่มเสียง ฟ 2 ขวบ 7 เดือน - 5 ขวบ เพิ่มเสียง ช 5 ขวบ 1 เดือน - 5 ขวบ 6เดือน เพิ่มเสียง ส อายุ 7 ขวบขึ้นไป เพิ่มเสียง ร 2.ความคงที่ในการออกเสียงไม่ชัดเป็นประจำของเด็ก ถ้าเด็กออกเสียงใดๆ ไม่ชัดทุกครั้ง ไม่ว่าจะพูดเมื่อใด หรือในสภาพแวดล้อมทางสัทศาสตร์ใดๆ (Phonetic context) เช่นออกเสียง บ.ใบไม้ เป็นเสียงอ.อ่างทุกครั้ง 3.มีการพูดไม่ชัดเกิดขึ้นบ่อยๆ จนสังเกตเห็นได้ชัด 4.หน่วยเสียงพยัญชนะหรือหน่วยเสียงสระที่เด็กพูดผิดนั้น ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาถึงความรุนแรงของการพูดไม่ชัดได้ ถ้าเด็กออกเสียงไม่ชัดตรงหน่วยเสียงที่ใช้บ่อยในคำพูด ผู้ฟังจะรู้สึกว่าเด็กพูดไม่ชัดรุนแรงกว่าเด็กที่ออกเสียงไม่ชัดตรงหน่วยเสียงที่ใช้ไม่บ่อยในภาษาไทย เช่นหน่วย ส.เสือ เป็นหน่วยเสียงที่ใช้บ่อยมากในคำพูด ดังที่ปรากฏในคำต่างๆ เช่น สวย เสื้อ ใส่ สวม เป็นต้น ส่วนหน่วยเสียง ฮ.นกฮูก เป็นหน่วยเสียงที่ใช้น้อยกว่าดังคำว่า ฮือฮา โฮกฮาก เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่ได้ยินเด็กพูดออกเสียง ส.เสือไม่ชัด จะรู้สึกว่าเด็กพูดผิดปกติ ในทันทีที่มีการสนทนาโต้ตอบด้วย เพราะหน่วยเสียง ส.เสือ มีโอกาสปรากฏในคำพูดมากกว่า ในทางตรงกันข้ามผู้ฟังจะมีโอกาสได้ยินหน่วยเสียง ฮ.นกฮูกในคำพูดน้อยครั้งกว่า ผู้ที่พูดกับเด็กที่พูดเสียง ฮ.นกฮูกไม่ชัด จะไม่ทราบว่าเด็กพูดไม่ชัด ถ้าในการสนทนาโต้ตอบกับเด็กไม่ได้ใช้คำที่มีหน่วยเสียง ฮ.นกฮูก นอกจากนั้นการออกเสียง ส.เสือไม่ชัดก็จะทำให้การเข้าใจคำพูดผิดเพี้ยนได้ง่ายเพราะเด็กต้องใช้หน่วยเสียงนี้บ่อยครั้งในขณะพูด อาจกล่าวได้ว่าหน่วยเสียงที่เด็กพูดไม่ชัด ซึ่งเป็นหน่วยเสียงที่ใช้บ่อยในคำพูดเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งที่ใช้ตัดสินใจการพูดไม่ชัด 5. ลักษณะของการพูดไม่ชัด มีส่วนในการบ่งถึงความรุนแรงการพูดไม่ชัด เช่น ถ้าพูดไม่ครบทุกหน่วยเสียง โดยมีการละเว้นออกเสียงบางหน่วยเสียง จะมีการพูดไม่ชัดรุนแรงกว่าการพูดโดยใช้หน่วยเสียงแทนกัน หรือการพูดผิดเพี้ยน การพิจารณาว่าผู้ใดพูดไม่ชัด รุนแรงเพียงใด และต้องได้รับการแก้ไขด้วยการฝึกพูด ก่อนแก้ไขต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุ ถ้าเป็นความผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด สมควรให้ได้รับการดูแลจากแพทย์โดยตรง หากเป็นการพูดไม่ชัดที่ไม่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์หรือได้รับการรักษาจากแพทย์แล้วก็ให้รับการฝึกพูดจากนักแก้ไขการพูด เด็กก่อนวัยเรียนบางราย ที่นักแก้ไขการพูด (speech therapist)ทดสอบแล้วเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกจากนักแก้ไขการพูด บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติต่อเด็กขณะที่อยู่บ้าน ถึงวิธีการกระตุ้นการพูดให้ชัดเจน ด้วยการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็กพูดให้ชัดเป็นตัวอย่างแก่เด็ก เตือนเด็กเมื่อเด็กพูดไม่ชัด แต่ไม่ให้ดุว่าหรือเคี่ยวเข็ญให้พูดให้ชัด นอกจากนั้นต้องไม่ล้อเลียนการพูดไม่ชัดของเด็ก และนำเด็กไปพบนักแก้ไขการพูดเป็นระยะๆ เพื่อติดตามผล ถ้าการพัฒนาเสียงพยัญชนะที่ไม่ชัดเจนนั้นไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงแนะนำให้ไปรับการฝึกพูด ส่วนมากเด็กที่พูดไม่ชัดในช่วงอายุ 3 4 ปีจะพูดไม่ชัดเจน จากการกระตุ้นที่บ้าน ถ้าเกินช่วงอายุนี้แล้วยังพูดไม่ชัดควรแก้ไขด้วยการฝึกพูด วิธีการแก้ไข ให้เลือกเสียงสระหรือเสียงพยัญชนะที่พูดไม่ชัดมาฝึกทีละเสียง โดยสอนให้เด็กรู้จักฐานที่เกิดของเสียง ลักษณะในการเปล่งเสียงพูดออกมา การวางลิ้นให้ถูกต้องตามตำแหน่ง ในช่องปากเพื่อออกเสียงแต่ละเสียงตลอดจนลักษณะของลมหายใจ ทิศทางของลมในช่องปาก ขณะออกเสียงพยัญชนะหรือสระแต่ละเสียง สอนให้รู้จักฟังเปรียบเทียบเสียงของตนเองกับเสียงของผู้สอน หรือเปรียบเทียบกับเสียงที่ถูกต้องชัดเจน การฝึกจะทำตั้งแต่ระดับหน่วยเสียงจนเป็นคำ วลี และประโยค ให้เด็กสามารถออกเสียงให้ถูกต้องทุกระดับและทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องฝึกหรือการพูดคุย สามารถโต้ตอบในชีวิตประจำวันได้
นำมาจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
|